สมาคมศูนย์การค้าไทย (Thai Shopping Centre Association) หรือ TSCA ผลักดันนโยบาย 3 ด้านสำคัญครอบคลุม ‘เศรษฐกิจ-สิ่งแวดล้อม-สังคม’ ในการเสริมความแข็งแกร่ง Sustainable Ecosystem ผ่านการชู ‘ธุรกิจศูนย์การค้า’ เป็น Key Driving Force กระตุ้นเศรษฐกิจและขับเคลื่อนประเทศชาติให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง พร้อมโชว์ศักยภาพความแข็งแกร่งการผนึกกำลังของสมาชิกสมาคมจากธุรกิจศูนย์การค้าชั้นนำของเมืองไทยทั้งหมด 12 บริษัท เพื่อเชื่อมต่อ Stakeholders และพันธมิตรร้านค้าในการร่วมยกระดับมาตรฐานสังคมและประเทศ โดยเฉพาะด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ เพื่อเสริมการเติบโตของประเทศในทุกมิติอย่างยั่งยืน
นายชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล นายกสมาคมศูนย์การค้าไทย กล่าวว่า “ศูนย์การค้าเป็นธุรกิจที่สำคัญและมีบทบาทเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เราจึงตระหนักถึงความสำคัญในการผนึกกำลังกันเพื่อสร้าง Sustainable Ecosystem ที่แข็งแกร่ง สร้างประโยชน์ให้กับทุกภาคส่วน รวมไปถึงบทบาทการกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานราก การสร้างสรรค์สังคมผ่านการสร้าง Shared Valued Creation โดยใช้พื้นที่ศูนย์การค้าของเราให้เป็นประโยชน์ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ, เกษตรกร และชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ ยังเล็งเห็นร่วมกันถึงการผลักดันนโยบายด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายสำคัญคือสนับสนุนประเทศชาติสู่ Net Zero โดยในปีนี้ ได้ออกนโยบายสนับสนุนให้ศูนย์การค้าร่วมกัน ‘ปรับตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นเพียง 1°C เพื่อประหยัดพลังงานช่วยชาติ’ และยังขอเชิญชวนไปยังภาคประชาชนอีกด้วย สำหรับด้านการจัดการขยะยังได้จับมือกับ กทม. เข้าร่วมโครงการ ‘ห้างนี้…ไม่เทรวม’ โดยเริ่มต้นที่การจัดการขยะอาหาร และทำให้ธุรกิจศูนย์การค้าเป็นต้นแบบให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่อื่นๆ ต่อไปอีกด้วย”
สมาคมศูนย์การค้าผลักดันนโยบาย 3 ด้านสำคัญได้แก่
1. Empowering Economy:
• การลงทุนใน ‘ธุรกิจศูนย์การค้า’ ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ กระตุ้นการจ้างงาน สร้างอาชีพ โดยปัจจุบันหากนับเฉพาะสมาชิกสมาคมฯ มีธุรกิจศูนย์การค้ารวม 90 แห่งทั่วประเทศ นับเป็นพื้นที่รวมทั้งหมด 15 ล้านตารางเมตร เทียบเป็นสัดส่วน 50% ธุรกิจศูนย์การค้าในประเทศไทย มีพนักงาน(รวมร้านค้า) กว่า 220,000 คน และสร้างงานในอุตสาหกรรมราว 500,000 คน ทั้งนี้สมาคมฯ มีแผนขยายในอนาคตถึงปี 2030 เพิ่มอีก 18 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 152,000 ล้านบาท
• ขณะเดียวกัน การสนับสนุน ‘การจับจ่าย’ & ‘กำลังซื้อประชาชน’ ผ่านการสร้างสรรค์แคมเปญการตลาด สอดรับนโยบายภาครัฐ อย่างมาตรการ Easy e-Receipt จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในประเทศที่ดี ซึ่งมาตรการดังกล่าว ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีเงินสะพัดกว่า 5 หมื่นล้านบาท
• สมาคมฯ เสนอภาครัฐในการสร้าง Multiplier Effect ในการอัดฉีดมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อให้ประชาชน เพื่อเป็นการเพิ่มอุปสงค์การซื้อสินค้าและบริการนำไปสู่การเพิ่มรายได้ของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยการใช้จ่ายแต่ละรอบจะกลายเป็นรายได้ของผู้อื่นต่อเนื่องกันไป ส่งผลให้มีการจับจ่ายและการลงทุนเพิ่มขึ้น นำไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ พร้อมกับเสนอเพิ่มความถี่มาตรการ Easy e-Receipt มากกว่า 1 ครั้งต่อปี เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง
2. Elevating Society:
• สร้างพื้นที่ศูนย์การค้าให้ SMEs โชว์ศักยภาพ ตลอดจนผู้ด้อยโอกาส ได้ใช้ศักยภาพพื้นที่ในศูนย์การค้า เปิดพื้นที่ฟรีให้ผู้ประกอบการ,เกษตรกร และชุมชน ร่วม Co-Create และ Creating Shared Value สร้างโอกาสในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศในอนาคต
• ยกระดับ Thainess & Soft Power ริเริ่มพื้นที่ Thainess Station สินค้าไทย ร่วมใจเพื่อชุมชน ผลักดันและยกระดับสินค้าท้องถิ่นไทยสู่ตลาดโลกผ่านการนำมาจัดแสดงและจัดจำหน่ายในพื้นที่ศูนย์การค้า เช่น สินค้าไทย สินค้าพื้นเมือง OTOPผลงานของนักออกแบบไทย เมนูอาหารไทย เมนูอาหารเพื่อสุขภาพถ่ายทอดวัตถุดิบจากภาคต่างๆ รวมถึงจัด Cultural Event ครบทุกมิติ ชูความโดดเด่นของไทยทั้งด้าน Food, Fashion, Fighting, และ Festival อาทิ Fashion Show กางเกงช้าง ผ้าไทย กิจกรรมมวยไทย ประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง การจัดโขน การแสดงดนตรีไทย การนวดไทย และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในการมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยอีกด้วย
3. Encouraging Efforts to Protect Environment:
• ผลักดันศูนย์การค้าจัดการพลังงาน ‘เพิ่ม 1 ลด 4’ หมายถึง เพิ่มอุณหภูมิ 1 องศา ลดความเสี่ยงsudden change ของอุณหภูมิจากอากาศร้อนเจออากาศเย็น ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดโลกร้อน ซึ่งจุดเปลี่ยนของการปรับเพิ่มอุณหภูมิ 1 องศา สามารถลดการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 2.54% นับเฉพาะสมาชิกสมาคมฯ ลดการใช้พลังงานได้ 25 ล้านหน่วยต่อปี เป็นเงิน 113 ล้านบาทต่อปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 12,527 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าหรือเท่ากับการปลูกต้นไม้กว่า 1.3 ล้านต้นราว 7,000 ไร่ และหากทั้งอุตสาหกรรมร่วมมือกันจะลดได้ราว 53 ล้านหน่วย เท่ากับ 238 ล้านบาทต่อปี
• สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในภาคบริการ โดยติดตั้ง Solar roof รวมกำลังการผลิตแล้วกว่า 66 MWp มากกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนอุบลรัตน์ ที่ได้จากพลังงานน้ำและพลังงานจากแผงโซล่าร์รวมกันที่ 34% ซึ่งประมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ของหลังคาศูนย์การค้านับเฉพาะสมาชิกฯ อยู่ที่ 86 ล้านหน่วยคิดเป็นมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นร่วม 1,700 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีมาตรการที่ใช้ลดพลังงานอื่นๆ เช่น Machine efficiency ปรับเปลี่ยนใช้เครื่องทำความเย็น (Chiller) ประสิทธิภาพสูง เปลี่ยนหลอดไฟ LED
• ในปี 2567 สมาคมศูนย์การค้าไทย ยังเพิ่มมาตรการในธุรกิจศูนย์การค้าเพื่อดูแล ‘สิ่งแวดล้อม’ ที่มากยิ่งขึ้น โดยจับมือกับ กรุงเทพมหานคร เสริมมาตรการจัดการขยะ ในโครงการ “ห้างนี้…ไม่เทรวม” จัดการขยะแบบพุ่งเป้า เป้าแรกคือ ขยะอาหาร เป้าสองคือ กลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าเป็นต้นแบบให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่อื่นๆ ต่อไป ซึ่งจัดการให้ศูนย์การค้ามีระบบการบริหารจัดการขยะที่ต้นทางลดปริมาณขยะที่ส่งไปจำกัด สร้างวัฒนธรรมและวิถีปลอดขยะ เพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะที่ดี และสมาชิกสมาคมฯ ยังมีเป้าหมายด้านการคัดแยกขยะ เพื่อพร้อมก้าวสู่การเป็น Zero Waste ซึ่งมีทางเลือกมาตรการจัดการแยกขยะที่หลากหลาย
ปัจจุบัน สมาคมศูนย์การค้าไทยประกอบด้วยผู้ประกอบการธุรกิจศูนย์การค้าทั้งหมด 12 ราย ได้แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), บริษัท เดอะมอลล์ชอปปิ้งคอมเพล็กซ์ จำกัด, บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์จำกัด (มหาชน), บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด, บริษัท แพลทินัม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน), บริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท อัลไล รีท แมนเนจเมนท์ จำกัด, บริษัท วัน แบงค็อก จำกัด, บริษัท แปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา จำกัด, และบริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน)